ทำอย่างไรให้มีน้ำนมสำรองเพียงพอและประสบความสำเร็จในการให้น้ำนมบุตร?
โดยปกติแล้ว สำหรับคุณแม่ที่มีการรับประทานอาหารที่ดี มีการพักผ่อนอย่างเพียงพอ ไม่เครียด และมีการดูแลทารกอย่างใกล้ชิดด้วยตัวเอง รวมถึงมีเทคนิคการให้นมลูกอย่างถูกวิธีแล้ว ก็มักไม่ค่อยพบปัญหาเรื่องน้ำนมน้อยค่ะ อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีคุณแม่อีกหลาย ๆ ท่านที่รู้สึกว่า ไม่ว่าจะทำอย่างไรก็มีปริมาณนมแม่ที่น้อยเกินไป นักกำหนดอาหารสามารถช่วยให้คำปรึกษาในเรื่องของโภชนาการ รวมถึงวิธีการต่าง ๆ ที่ช่วยเพิ่มปริมาณนมแม่ ซึ่งจะนำไปสู่การให้นมลูกด้วยตนเองที่ประสบความสำเร็จในที่สุดค่ะ
การดูดนมของลูกนั้น ถือได้ว่าเป็นการช่วยกระตุ้นการไหลของน้ำนมโดยธรรมชาติ ดังนั้นน้ำนมที่ออกมาจะมีปริมาณเพียงพอตามความต้องการของทารกค่ะ นอกจากนี้ความสัมพันธ์แม่ลูกจากการสัมผัสตัวระหว่างแม่และทารก จะเป็นการช่วยแม่กระตุ้นการผลิตฮอร์โมนโปรแลกติน (Prolactin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยสร้างน้ำนม และสำหรับทารกจะช่วยให้เด็กรู้สึกสบาย และเกิดความคุ้นเคยกับมารดาของตนมากขึ้น การที่จะดูว่าน้ำนมที่แม่ผลิตออกมานั้นเพียงพอสำหรับเด็กแล้วหรือยัง ให้สังเกตได้จากตัวชี้วัดอย่างเช่น น้ำหนักตัวและความยาวของทารก ว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอหรือไม่ รวมทั้งวิธีการอื่นๆ เช่น สังเกตว่ามีผ้าอ้อมเปียกจากการปัสสาวะของเด็กถึง 6-8 ครั้งต่อวันหรือไม่ และ ความถี่ในการอุจจาระของเด็กค่ะ
ในบางครั้ง คุณแม่หรือแม้แต่ทารกเองอาจมีปัญหาหรือภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น ซึ่งอาจเป็นเหตุผลให้การให้นมแม่กับลูกนั้นไม่ประสบความสำเร็จ (ดังตารางที่ 1) สามารถสังเกตได้จากสัญญาณบ่งชี้ เช่น หากแม่รู้สึกว่าน้ำนมที่ออกมามีปริมาณลดลง หรือ ทารกมีการเจริญเติบโตช้ากว่าที่ควรจะเป็นค่ะ แต่อย่างไรก็ตาม การที่ลูกจะเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์แข็งแรง มีพัฒนาที่เหมาะสม รวมถึงการรักษาสายสัมพันธ์แม่ลูกไว้ให้ได้นั้น ต้องมีการช่วยให้การให้นมแม่เป็นไปได้อย่างราบรื่นและประสบความสำเร็จ โดยต้องมีการแก้ไขปัญหาให้ถูกจุด ระบุไปถึงสาเหตุที่แท้จริง ที่ทำให้น้ำนมแม่ไม่เพียงพอ และควรจะได้รับการแก้ไขภายใต้การดูแลจากแพทย์ที่ให้การดูแลรักษาอยู่ค่ะ
ตารางที่ 1 สาเหตุที่เป็นไปได้ที่น้ำนมแม่ไม่เพียงพอ
สาเหตุจากแม่ |
สาเหตุจากทารก |
|||
การไหลของน้ำนม | การผลิตน้ำนม | ความต้องการพลังงานสูง | พลังงานรวมไม่เพียงพอ |
ทานอาหารไม่เหมาะสม |
|
|
|
|
|
ในทารกบางคนอาจพบว่ามีภาวะที่ไม่สามารถทนต่ออาหารบางชนิดที่แม่ทานเข้าไปได้ (intolerance) อาการที่อาจแสดงออกมา เช่น หงุดหงิดง่าย หรือท้องเสียค่ะ คุณแม่ที่ลูกมีภาวะนี้จะได้รับคำแนะนำให้งดอาหารที่ต้องสงสัยนั้นไปก่อนชั่วคราว อาจรอไปจนกระทั่งทารกโตขึ้น และมีระบบย่อยอาหารที่สมบูรณ์มากขึ้น ถึงจะทดลองเริ่มอาหารนั้นได้อีกครั้ง แต่ในบางรายอาการเหล่านี้ อาจหายได้หลังจากนั้นในระยะเวลาไม่กี่สัปดาห์หรือหลายเดือน อาหารที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นสาเหตุของอาการดังกล่าวนี้ มีอยู่หลายชนิด เช่น โปรตีนจากนมวัว (เคซีน) ผักกระกูลกะหล่ำ เครื่องดื่มอัดก๊าซ หรือแม้แต่ อาหารรสเผ็ดค่ะ
แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เป็นหลักสำคัญที่นักกำหนดอาหารควรคำนึงถึง คือหากคุณแม่ต้องมีการงดการทานอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งไป ต้องคอยประเมินดูด้วยว่าสารอาหารที่ได้รับในขณะนั้น ครบถ้วนเพียงพอหรือไม่ ต่อทั้งคุณแม่เองและทารก โดยอาจมีการเสริมอาหารทดแทนให้เหมาะสม ในกรณีที่จำเป็นค่ะ
ปัญหาที่อาจพบได้อีกอย่างหนึ่งคือ หากแม่ทานยาบางชนิดแล้วจะส่งผลต่อลูกหรือไม่ ยาเกือบทุกชนิดจะสามารถพบในน้ำนมแม่และส่งไปสู่ลูกได้ แต่พบในปริมาณมากน้อยแตกต่างกัน และข้อควรระวังเป็นพิเศษ ในคุณแม่ที่ต้องให้นมทารกคลอดก่อนกำหนด หรือทารกที่ป่วย เนื่องจากเด็กกลุ่มนี้แม้ยาเพียงปริมาณแค่เล็กน้อยในน้ำนม ก็อาจส่งผลกระทบต่อเด็กได้ค่ะ
ตารางที่ 2 วิธีเพิ่มน้ำนม สำหรับผู้ที่มีปัญหาการให้นมบุตร
ปัญหา |
วิธีการจัดการ |
หัวนมบอด (inverted nipples) | – ใช้ Breast shells ในไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์
– ดึงหัวนมให้ยื่นยาวก่อนให้ทารกดูดนมหรือ ใช้ที่ปั๊มนม 1-2 นาที |
เต้านมคัด (Breast engorgement) | – ทำให้เต้านมอ่อนนุ่มลง โดยการบีบระบายน้ำนมออกมาก่อนเล็กน้อย
– ให้ทารกดูดนมบ่อยมากขึ้น – บีบน้ำนมออกด้วยมือหรือเครื่องปั๊มหลังให้นม เพื่อลดอาหารคัด – ประคบเต้านมด้วยความเย็น เพื่อลดความปวด หลังให้นม – อาจต้องทานยาแก้อักเสบ ตามความจำเป็น |
การเข้าเต้า หรือ การอมหัวนมและลานนมที่ไม่ถูกต้อง | – ให้ทารกเข้าเต้า* ในตำแหน่งที่ถูกต้องเหมาะสม
– ให้ทารกดูดนมแบบ mouth-full โดยครอบทั้งปาก ให้ถึงลานนม – ใช้ nipple shield เป็นทางเลือกสุดท้าย และเฉพาะตามคำแนะนำของแพทย์ |
ทารกเปิดปากไม่กว้างพอ | – ก่อนให้นม ให้ลองใช้นิ้ว1 นิ้วค่อยๆลดช่วงกลามล่างของเด็กลง เสมือนเป็นหัวนม เพื่อเป็นการลองเปิดปากของเด็กให้กว้างขึ้นก่อนให้น้ำนมจริง |
เจ็บหัวนม (Sore nipples) | – อาจต้องใช้ขี้ผึ้งสำหรับทาหัวนมเพื่อลดความเจ็บ
– ใช้ breast shells ( หาก sensitive มาก ) – ใช้ hydrogel pads , ยาที่ได้รับการรับรอง โดยต้องภาวะอื่นที่ต้องตรวจสอบ คือ ภาวะลิ้นติด (Ankyloglossia),การติดเชื้อรา หรือการใช้ fitting pump ที่ช่องคลอดที่ไม่เหมาะสม หรือไม่ |
ทารกดูดนมไม่ดี ไม่เหมาะสม | – ลองใช้มือเชยคางทารกขึ้น ก่อนให้ดูดนม
– ลองนวดเต้านม เป็นการลองให้นมเข้าปากเด็กก่อน ช่วยกระตุ้นการดูดการกลืนของทารก – หรือ อาจเกิดจากปัญหาทางร่างกายของทารกหรือมารดาเอง |
ทารกแสดงออกว่าจะดูดนมแต่ไม่งับหัวนม และมีการร้องไห้แบบอารมณ์เสีย | – หยุดพักการให้น้ำนมไปก่อน และคุณแม่ควรทำจิตใจผ่อนคลายก่อนจะทดลองให้ลูกดูดนมอีกครั้ง
– ให้ทารกอยู่ในตำแหน่งที่สบาย หันหน้าเข้าหาเต้านม – ลองหยดน้ำนมเล็กน้อยที่หัวนม ช่วยดึงดูดทารก |
ทารกเผลอหลับขณะกำลังให้นม | – คอยปลุกให้ตื่น โดยให้แม่ลองอุ้มทารกตั้งขึ้น ลองลูบหลัง พูดคุยกับลูก หรือวิธีนุ่มนวลอื่นๆที่เป็นไปได้ เช่น การขยับเต้านมแม่ หรือใช้นิ้วกดที่เต้านมแม่เบาๆ
– แต่หากลูกเผลอหลับไปอีกครั้ง ให้เลื่อนการให้น้ำนมไปก่อน – ใช้วิธีการนวดเต้านม กระตุ้นให้น้ำนมไหลเร็วขึ้น จะเป็นการกระตุ้นให้ทารกดูดนมไปในตัว |
หัวนมและเต้านมอักเสบ (Mastitis) | – อาการแสดง คือ เต้านมแดง อ่อน หรืออาจมีไข้ อ่อนเพลีย
– แพทย์อาจมีการสั่งจ่ายยาฆ่าเชื้อ – หากแพทย์อนุญาต ว่าสามารถให้นมต่อได้ พยายามให้นมจนเกลี้ยงเต้า น้ำนมที่ให้นี้มีความปลอดภัยต่อเด็ก และ แนะนำให้แม่พักผ่อนอย่างเพียงพอ |
ความเข้าใจว่าตนมีน้ำนมน้อย
|
– พยายามให้ทารกดูดนมบ่อยมากขึ้น ตามความต้องการของเด็ก
– อุ้มลูกให้ตัวแนบชิดแม่ (Skin to skin care) เพื่อกระตุ้นฮอร์โมนprolactin – หลีกเลี่ยงการให้ดูดนมจากขวด – ทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนเพียงพอ – พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงภาวะเครียด – หมั่นดูแลประเมินว่าน้ำนมที่ทารกได้เพียงพอต่อความต้องการหรือไม่ เช่น จำนวนผ้าอ้อมเปียก หรือระบบการขับถ่ายที่เหมาะสม – ประเมินการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว ที่เหมาะสม
|
ภาวะที่มีน้ำนมน้อยจริง
(True low milk supply) |
– ตรวจเช็คให้ทารกอยู่ในตำแหน่งการดูดนม การเข้าเต้าที่ สบายและมีประสิทธิภาพมากที่สุด (โดยให้ลองดูดนมทั้งสองข้าง และสลับข้างเป็นระยะ กระตุ้นการดูดนมของเด็กให้มากขึ้น)
– หลีกเลี่ยงการให้ดูดจากขวดนม หรือจุกนมปลอม – ในการให้นมแต่ละครั้ง ให้ให้จนเกลี้ยงเต้า 8-12 ครั้งต่อวัน หรือ อาจใช้ปั๊มช่วยในบางครั้ง หลังทารกดูดนมเสร็จ และให้ให้ทำต่อเนื่องหลังจากนั้นไปอีก 5 นาที เพื่อให้น้ำนมหมดเต้าจริง ๆ – เพิ่มการปั๊มน้ำนมในช่วง ตี1 – ตี5 ซึ่งเป็นช่วงน้ำนมผลิตได้มากที่สุด – ใช้ที่ปั๊มที่มีคุณภาพ โดยอาจขอยืมมาจากโรงพยาบาล – นวดเต้านมไปด้วยขณะให้น้ำนม – ใช้วิธี Skin-to-skin เป็นวิธีการให้น้ำนมแต่ละครั้ง – ทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนและดื่มน้ำให้เพียงพอ – พักผ่อนให้เพียงพอ – ลดความเครียด – อาจมีการใช้สมุนไพรหรือยาตามคำแนะนำของแพทย์ |
คำแนะนำเพิ่มเติม
- การดูดนมแต่ละครั้ง ควรให้ทารกดูดจนอิ่มและทารกจะปล่อยหัวนมออกเอง
- ระยะเวลาที่ทารกใช้ดูดนม แต่ละครั้ง ประมาณ 15-20 นาที โดยดูดให้เกลี้ยงเต้าทั้งสองข้าง ระยะห่าง 2-2 ½ ชั่วโมง ความถี่ 8-12 ครั้งต่อวัน
- หากทารกดูดสั้นและถี่เกินไป หรือดูดนมนานเกิน 30 นาที แนะนำให้ลองประเมินท่าอุ้มและการดูดนม
- สัญญาณ “หิว” ของทารก
- ส่งมือไขว่คว้าบริเวณปาก
- ดูดปาก ยื่นลิ้นออกมา
- ขยับ/เผลอริมฝีปาก
- ร้องไห้ โดยเฉพาะเมื่อหิวมาก
- หันศีรษะหรือปากเข้าหาแม่
- การให้ลูกดูดนม (เข้าเต้า) ที่ถูกต้อง
- ให้ลูกอมงับถึงลานนม จะอมลานนมล่างได้มากกว่าด้านบน
- ให้ปากของลูกอ้ากว้างแนบกับเต้านมแม่
- ริมฝีปากล่างของลูกบานออก
- คางของลูกแนบชิดเต้านมแม่
หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับนักกำหนดอาหารที่ให้การดูแลคนไข้กลุ่มหญิงให้นมบุตรทุกท่านค่ะ
อ้างอิง
- Brown JE. Nutrition in the life cycle 5th edition. Centgage Learning. 2013.
- ยุพยง แห่งเชาวนิช. Management and support of infant feeding in maternity facilities. Thai Breastfeeding Center Foundation. 2012.
- Breastfeeding. Obstetrics and Gynecology. Chiang Mai University. 2010.